ชื่อไทย : จำปี
ชื่อท้องถิ่น :
ชื่อสามัญ : White chempaka
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Michelia alba DC.
ชื่อวงศ์ : MAGNOLIACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
จำปีเป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 เมตร แตกกิ่งจำนวนมาก ปลายกิ่งทางด้านล่างของทรงพุ่มขนานกับพื้นหรือห้อยลู่ลง ปลายกิ่งด้านบนจะตั้งขึ้น ทรงพุ่มรูปกรวยคว่ำ มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นที่ระดับอก 40 – 80 ซม. เปลือกสีเทาอมขาว หนา 0.5 ซม.
ใบ :
รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 5 – 9 ซม. ยาว 15 – 25 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบบาง แผ่นใบเรียบ เส้นใบเด่นชัดทางด้านล่าง ก้านใบยาว 2 – 4 ซม. โคนก้านใบป่อง
ดอก :
เดี่ยว ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สีขาว ดอกตูมรูปกระสวย กว้าง 1 – 1.5 ซม. ยาว 3 – 5 ซม. ก้านดอกยาว 1.5 – 2  ซม. กลีบดอกมี 8 – 12 กลีบ รูปรีแกมรูปใบหอก กว้าง 0.8 -1.2 ซม. ยาว 3 – 5 ซม. หนา อวบน้ำ และเปราะ เกสรเพศผู้จำนวนมาก เรียงเป็นบันไดเวียนถี่ๆและซ้อนกันแน่น เกสรเพศเมีย 10 – 13 อัน ดอกบานตั้งขึ้น เริ่มบานในช่วงเย็น มีกลิ่นหอม
ผล :
เป็นกลุ่ม ช่อยาว 3 – 6 ซม. ก้านช่อผลยาว 1 – 2 ซม. มีผลย่อย 3 – 8 ผลแต่ละผลกลม ขนาด 1 ซม. ไม่มีก้านผล เปลือกผลมีช่องอากาศเป็นจุดสีขาวเด่นชัดเมื่อแก่ผลแห้งและแตกตามแนวตั้ง  เมล็ด แก่สีแดง 
ระยะติดดอก - ผล : ติดดอกตลอดทั้งปี
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา

ถิ่นกำเนิด ประเทศอินโดนีเซีย

การกระจายพันธุ์

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ไม้โชว์ทรงพุ่ม ตลอดจนปลูกเป็นไม้บังร่มหรือบังลมที่มีดอกหอมและสวยงาม

การปลูกและการขยายพันธุ์ :

โดยการปักชำ ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง ในการตอนกิ่งใช้เวลาเพียงสองเดือนก็ออกรากจำนวนมาก และสามารถตัดมาปลูกชำได้ ในการเลือกกิ่งเพื่อทำการตอนให้เลือกกิ่งที่ตั้งหรือค่อนข้างตั้ง เมื่อควั่นกิ่งตอนแล้วจะออกรากได้รอบกิ่ง แต่หากควั่นกิ่งที่เอนมากๆหรืออยู่ในแนวราบ จะออกรากเพียงด้านล่างเท่านั้น วิธีแก้ไขคือ ใช้ไม้ค้ำยันโคนกิ่งและใช้เชือกผูกปลายกิ่งรั้งให้ตั้งขึ้น ก็จะออกรากได้รอบกิ่งเช่นเดียวกัน ส่วนการทาบกิ่ง นิยมใช้ต้นกล้าจำปามาเป็นต้นตอ การปลูกต้นจำปีลงแปลงกลางแจ้ง เมื่อปลูกเพียงต้นเดียวจะเจริญเติบโตแตกกิ่งรอบต้น มีทรงพุ่มเป็นรูปกรวยคว่ำสวยงามตลอดไปแต่หากปลูกรวมกลุ่มและแตกกิ่งออกมากติดกันไปหมด ในการปลูกเป็นแถจึงต้องมีระยะห่างระหว่างต้นไม่น้อยกว่า 10 เมตร จึงจะมีทรงพุ่มสวยงาม ส่วนการปลูกในห้ออกดอกในกระถาง ซึ่งปลูกจากกิ่งตอนหรือกิ่งทาบนั้น เมื่อต้นมีอายุได้ 2 4 ปีจะมีทรงต้นใหญ่ขึ้น และควรนำลงปลูกในแปลงกลางแจ้งต่อไป

รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :

- ดอก เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงประสาท บำรุงโลหิต น้ำมันจากดอก ทาแก้ปวดศีรษะแลตาบวม

- ดอกและผล เป็นยาบำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียน แก้ไข้ ขับปัสสาวะ

- ใบ เป็นยาแก้โรคประสาท แก้ป่วง

- เปลือกต้น เป็นยาแก้ไข้

- แก่น เป็นยาบำรุงประจำเดือน

- รากแห้งหรือเปลือกราก ใช้ผสมนมสำหรับบ่มฝี [1]

- ดอกของจำปีมีการจำหน่ายในปริมาณสูง เพื่อนำมาร้อยมาลัยและเพื่อใช้ผสมในตำรับยาไทยแผนโบราณ [2]

แหล่งอ้างอิง : [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2545. แมกโนเลียเมืองไทย. Thai Magnoliaceae . พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์บ้านและสวน.กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
พืชล่อแมลง
ไม้ยืนต้น
พืชสมุนไพร
ที่อยู่ :
หมายเหตุ :

สำหรับลักษณะประจำพันธุ์ของจำปีแต่ละพันธุ์มีลักษณะเด่นดังนี้

พันธุ์จำปีสีนวล

เป็นพันธุ์ที่กลายมาจากจำปีที่ปลูกกันในย่านบางบำหรุ แล้วจึงขยายพันธุ์ปลูกกระจายออกไป มีลักษณะต้นและใบเหมือนจำปี แต่มีดอกเริ่มแย้มเป็นสีเหลืองนวลและมีขนานใหญ่คล้ายจำปา

พันธุ์ดอกใหญ่

เป็นพันธุ์ที่มาจากแหล่งเดิม 2 แหล่ง คือ นำเข้ามาใหม่จากจีนตอนใต้ และพันธุ์ที่กลายมาจากจำปีที่ปลูกกันในจังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วมีการปลูกปนกันไปมาจนแยกไม่ออก ลักษณะเด่นคือ มีดอกขนาดใหญ่ กลีบดอกกว้างและหนา

พันธุ์ดอกเล็กหรือพันธุ์ธรรมดา

เป็นพันธุ์ที่ปลูกกันอยู่ทั่วไป แพร่กระจายมาจากจีนทางตอนใต้ แต่แพร่เข้ามานานมากหลายร้อยปีแล้ว จนปรับตัวเข้ากับสภาพของเมืองไทยได้ดี และมีกล่าวถึงอยู่ในวรรณคดีไทยยุคเก่าๆหลายเรื่อง เป็นพันธุ์ที่มีดอกดก แต่ไม่เคยมีการปรับปรุงพันธุ์ให้มีขนาดของดอกใหญ่ขึ้น เนื่องจากไม่ติดผลในเมืองไทย หรือติดผลได้น้อยมาก

พันธุ์ดอกยาว

มีแหล่งดั้งเดิมอยู่ที่ตอนเหนือของพม่า มีลักษณะที่แตกต่างจากพันธุ์อื่นคือมีใบเกล็ดรูปไข่ 1 ใบ กว้าง 2.7 3 ซม. ยาว 5 ซม.  ติดอยู่ที่ก้านดอก ดอกมีขนาดใหญ่ เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 8 ซม. มีกลีบดอกยาวมากกว่าพันธุ์อื่นทั้งหมดรวม 12 -15 กลีบ กลีบดอกชั้นนอกรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 17. 2 ซม. ยาว 7.5 8.5 ซม. กลับดอกชั้นในมีขนาดแคบและสั้นกว่า มีดอกค่อนข้างดก

พันธุ์ดอกดก

มีแหล่งดั้งเดิมมาจากจังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะที่แตกต่างจากพันธุ์อื่นคืนในแต่ละซอกใบมีหลายดอก เนื่องจากมีการแทงดอกออกมาเพิ่มที่ซอกใบและก้านดอก ดอกมีขนาดค่อนข้างใหญ่ [2]

ระยะเวลาติดผล ไม่ติดผล หรือมีโอกาสติดผลน้อยมากในบางพื้นที่เท่านั้น
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554